ประวัติที่มา



อำเภอนาจะหลวย
"นาจะหลวย รวยน้ำใจ
ถิ่นวัฒนธรรมไทยสี่เผ่า เทพเจ้าภูหมากจอง
เนืองนองน้ำตกถ้ำบักเตว"


ที่ว่าการอำเภอ : ตั้งอยู่ที่บ้านนาจะหลวย หมู่ที่ 1 ตำบลนาจะหลวย อยู่ห่างจากอำเภอเมืองไปทางทิศใต้ตามถนนสายอุบลฯ-นาจะหลวย ระยะทางประมาณ 122 กิโลเมตร
รหัสไปรษณีย์ : 34280
 ประวัติความเป็นมา : อำเภอนาจะหลวย แต่เดิมคือตำบลนาจะหลวย ตำบลโนนสมบูรณ์ ตำบลโนนสวรรค์ ตำบลพรสวรรค์ และตำบลโสกแสง ซึ่งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเดชอุดม ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ ไม่สะดวกแก่การติดต่อราชการ จึงได้แยกตำบลดังกล่าวออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อ ปี พ.ศ.2515 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอเมื่อปี พ.ศ.2530 ที่ว่าการอำเภอ 045-379114 โทรสาร 379114
ความเป็นมาของชื่ออำเภอ : คำว่า "นาจะหลวย" เรียกเพี้ยนมาจากคำว่า "จะรอย, จะ โรย เป็นภาษาส่วย ซึ่งแปลว่าพังพอน" เมื่อรวมกันเป็นชื่ออำเภอ "นาจะหลวย" แล้วมีความหมายว่า พื้นที่ปลูกข้าวที่เป็นที่อยู่อาศัยของพังพอน (ที่มา : นามานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี)
สถานภาพและศักยภาพภูมิปัญญาไทย : อำเภอนาจะหลวย มีภูมิปัญญา ด้านการบริหารจัดการองค์กรชุมชน สวัสดิการชุมชน ที่สำคัญ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ องค์กรชุมชน องค์กรระดับกลุ่ม ดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมการออมทรัพย์ การจัดสวัสดิการชุมชนและการพัฒนาส่งเสริมอาชีพ เป็นต้น จัดเป็นภูมิปัญญาในระดับสูงมาก มีความโดดเด่นกว่าด้านอื่นๆ รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ที่แสดงถึงภูมิปัญญาด้านหัตถกรรม เช่น การทอผ้าถือเป็นภูมิปัญญาในระดับศักยภาพระดับสูง ส่วนภูมิปัญญาด้านแพทย์แผนไทยด้านสมุนไพร มีการผลิตยาสมุนไพร และภูมิปัญญาด้านเกษตรกรรม โภชนาการ อาหารแปรรูป เช่น การทำปุ๋ยชีวภาพ และการทำปุ๋ยน้ำหมัก ซึ่งภูมิปัญญาทั้ง 2 ด้านนี้มีความโดดเด่นอยู่ในระดับค่อนข้างสูง
สิ่งที่เป็นผลิตภัณฑ์โดดเด่นของภูมิปัญญา คือ ผ้าไหมและผ้าทอมือย้อมสีธรรมชาติ ตำบลโคกแสง หมอนขิด หมอนสามเหลี่ยม กลุ่มแม่ย้านห้วยขันเหนือ ตำบลนาจะหลวย เสื่อลายไทย กลุ่มแม่บ้านโนนสมบูรณ์ ตำบลโนนสมบูรณ์ (ที่มา : ศักยภาพและสถานภาพของภูมิปัญญาไทย : ภูมิปัญญาไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตำบลนาจะหลวยเป็นตำบลในเขตการปกครองของอำเภอนาจะหลวย ซึ่งประกอบไปด้วย 16 หมู่บ้านและแบ่งเขตการปกครองเป็น 2 ลักษณะคือหมู่บ้านในเขตเทศบาล 6 หมู่บ้าน ได้แก่ ห้วยโลก หลักเมือง กลางเมือง ศรีพรม ห้วยซันเหนือ และห้วยซันใต้ หมู่บ้านนอกเขตเทศบาล 10 หมู่ บ้านได้แก่ บ้านนาจะหลวย ท่าก่อ แก้งเรือง คำโทน โคกใหญ่ ดงขวาง แก้งขี้เหล็ก โคกใหญ่ แก้งเรืองพัฒนา และหนองมันปลา ตำบลนาจะหลวยเมื่อก่อนเป็นถิ่นที่อยู่ของ "จะรวย" ซึ่งเป็นภาษาส่วย ภาษาไทยเรียกว่า "กะจ้อน" ซึ่งครั้งแรกชาวบ้านรกรากที่ตะหลุง ต่อมาเกิดโรคระบาดจึงย้ายลงมาตั้งรกรากที่พลาญซึ่งก็เกิดโรคระบาดอีกครั้ง จึงได้อพยพลงมาอยู่ที่นาซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์แต่พื้นที่นี้มีจะรวยทากจึง เรียกว่า "นาจะรวย" แต่เนื่องจากเป็นภาษาส่วยดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกเพี้ยนมาเป็น "นาจะหลวย" ซึ่งใช้เป็นชื่อตำบลและอำเภอมาจนถึงทุกวันนี้

สภาพทั่วไปของตำบล :
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขาพนมดงรัก กั้นชายแดนไทย-ลาว
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.บ้านตูม อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี
ทิศใต้ ติดต่อกับ สาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.ห้วยข่า อ.บุณฑริก จ.อุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรในเขต อบต. 7,389 คน และจำนวนหลังคาเรือน 1,627 หลังคาเรือน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ทำนา,ทำสวน,ทำไร่,ค้าขาย และรับราชการ
อาชีพเสริม ทอผ้า
ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล :
1. วัดป่าโนนนิเวศน์
2. วัดป่านาจะหลวย
3. วัดป่าภูพลาญสูง
4. ศาลหลักเมืองอำเภอนาจะหลวย
5. ที่ว่าการอำเภอนาจะหลวย
6. ธนาคารออมสิน สาขานาจะหลวย
7. สถานีตำรวจอำเภอนาจะหลวย
8. โรงเรียนนาจะหลวย
9. น้ำตกห้วยหลวง (น้ำตกถ้ำบักเตว)
10. อุทยานแห่งชาติภูจองนายอย

เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
ข้อมูลองค์การบริหารส่วนตำบล :
อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี
    

อำเภอนาจะหลวย  ตั้ง อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นอำเภอชายแดน ติดต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีเทือกเขาพนนมดงรักเป็นเส้นเขตแดน                                                                                                                         
"นา" หมายถึงพื้นที่ทำเล  เมื่อรวมคำว่า"นาจะหลวย"จึงมีความหมายว่า ทำเลของกระจ้อน ซึ่งบ่งบอกและแสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ด้านการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติของอำเภอนาจะหลวย                                                                                           
คำว่า จะหลวยมาจากภาษาส่วย(ภาษาประจำถิ่น) แปลว่า กระจ้อนซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของอำเภอนาจะหลวย  โดยจะมีลักษณะกล้ายกับกระรอก
อำเภอนาจะหลวยเดิมเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเดชอุดม ต่อมาได้รับการยกฐานะขึ้น เป็นอำเภอเมื่อวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๒๐
เป็นชุมชนที่อยู่ของชาวสี่เผ่า  ประกอบด้วยไทย ลาว เขมร  และ ส่วย ตั้งถิ่นฐานในพื้นที่เริ่มตั้งแต่เมื่อไหร่นั้นไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ราษฎรประกอบอาชีพด้านการเกษตร หาของป่า นับถือศาสนาพุทธ รวมทั้งการเชื่อถือภูตผีเจ้าป่าเจ้าเขา
ภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร คือ ภาษาลาวอีสาน รวมทั้งภาษาส่วยที่ใในเขตบ้านแก้งเรือง    บ้านแก้งขี้เหล็ก ตำบลนาจะหลวย
ปัจจุบัน  ร้อย ละ ๘๐ ของประชากรเป็นราษฎรที่อพยพมาจากพื้นที่ต่างๆ เช่น จากจังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดอำนาจเจริญ อำเภอพิบูลมังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

7 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ29 กรกฎาคม 2556 เวลา 16:39

    นาจะหลวย

    ตอบลบ
  2. อยากทราบประวัติแต่ละหมู่บ้านมีไหมค่ะ

    ตอบลบ
  3. http://numnachaluai.blogspot.com/ ฝากด้วยครับ

    ตอบลบ
  4. http://numnachaluai.blogspot.com/ ฝากด้วยครับ

    ตอบลบ
  5. http://numnachaluai.blogspot.com/ ฝากด้วยครับ

    ตอบลบ
  6. อยากทราบว่ามีโรงเรียนอะไรบ้างครับ

    ตอบลบ